กิจกรรมนันทนาการและการฝึกทักษะต่างๆในผู้สูงอายุ

กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๖


เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาด พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๖

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง
สุขใจ เฮลตี้โฮมจึงจัดกิจกรรม “วันแม่” โดยนำพวงมาลัยมาไหว้ขอขมาผู้สูงอายุ ทีพักอยู่ในศูนย์ดูแลเราคะ

นำโดย คณะผู้บริหาร และ พนักงาน บริษัทสุขใจ เฮลตี้โฮม จำกัด
(สำนักงานใหญ่)

ด้วยความเคารพอย่างสูง🙏🏻🙏🏻🙏🏻

กิจกรรมการจัดดอกไม้แบบ “โคริงกะ”


พอได้ยินคำว่า “สมาธิ” เราคงจะนึกถึงการนั่งหลับตา สังเกตลมหายใจเข้า-ออก แต่การฝึกสมาธินั้นไม่จำเป็นต้องอยู่นิ่ง ๆ เสมอไป ซึ่ง “การจัดดอกไม้” ก็นับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ได้ขยับร่างกายไปพร้อมกับการฝึกสมาธิ แถมได้ใกล้ชิดธรรมชาติมากยิ่งขึ้น บทความนี้จะชวนมาดูวิธีการจัดดอกไม้แบบ “โคริงกะ” ที่คิดค้นโดยชาวญี่ปุ่น เหมาะกับทั้งเด็ก และผู้ใหญ่เพราะไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐาน หรือทักษะทางศิลปะก็จัดดอกไม้ แบบโคริงกะได้ จะเห็นว่าการจัดดอกไม้ใช้ประสาทสัมผัสแทบทุกส่วน แถมยังได้กลับมาทบทวนถามตัวเองว่ากำลังมองเห็น สัมผัส หรือมีมุมมองต่อสิ่งที่อยู่ตรงหน้าอย่างไรบ้าง ซึ่งนอกจากจะใช้เวลาว่างพักใจไปกับธรรมชาติแล้ว ยังช่วยให้เกิดบทสนทนาที่สร้างสรรค์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มอีกด้วย

การเล่นเกมส์จังก้า


ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการ จะได้ฝึกวิเคราะห์ กล้าคิด กล้าตัดสินใจว่าควรเลือกดึงไม้ชิ้นไหนถึงจะทำให้ตึกไม่ล้ม เป็นการฝึกสมองในการทำงานประสานกับมือและสายตาการหยิบจับ จัดเรียงฝึกสมาธิ และความนิ่ง ในการดึงบล็อกไม้ออกโดยไม่ให้ตึกถล่มล้มลงมาใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีพัฒนาการทางด้านสังคม สร้างความสัมพันธ์อันดีในครอบครัวจากการเล่นร่วมกัน รู้แพ้ รู้ชนะ รู้จัก ยอมรับผลการเล่น

ราวคู่ขนานฝึกเดิน


เหมาะสำหรับ: ผู้ป่วยทุกคนที่เพิ่งเริ่มการฝึกยืนเดิน ทั้งผู้ป่วยที่เพิ่งผ่าตัด ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงครึ่งซีก ผู้ป่วยกำลังกล้ามเนื้อขาน้อย ผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง เป็นต้น

ข้อดี: เป็นอุปกรณ์ช่วยเดินเริ่มต้น สามารถรองรับน้ำหนักของผู้ป่วยได้ทั้งหมด มีความมั่นคงมากที่สุดในหมู่อุปกรณ์ช่วยเดิน เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ต้องติดตั้งอยู่กับที่ไม่เคลื่อนย้าย

ข้อเสีย: มีระยะทางจำกัด มีน้ำหนักและขนาดใหญ่เคลื่อนย้ายได้ยาก ผู้ป่วยไม่สามารถออกมาจากราวคู่ขนานขณะฝึกเดินได้

กิจกรรมวาดภาพระบายสี


การวาดภาพระบายสี ทำให้มีการเคลื่อนไหวของนิ้วมือและมือ จากการลากเส้นตามรอยหรือทาสีไปตามรูปทรงต่างๆ เป็นการฝึกใช้กล้ามเนื้อมือให้กับเด็ก และยังเสริมสร้างพัฒนาการ ทางด้านร่างกายอื่นๆ อีกด้วย อาทิเช่น การใช้สายตาในการแยกแยะ สีต่างๆ

เตียงช่วยยืน


เป็นอุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด มีลักษณะเป็นเตียงที่มีสายรัดเพื่อเพิ่มความมั่นคง และสามารถปรับมุมเอียงของเตียงได้ตั้งแต่ท่านอนราบ 0 องศา ถึง ยืนตัวตั้งตรง 90 องศา นิยมใช้ในการรักษาและฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดในผู้มีภาวะต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง, ได้รับบาดเจ็บของไขสันหลัง, ผู้มีภาวะติดเตียง และกลุ่มเด็กสมองพิการ เป็นต้น

การใช้ในทางกายภาพบำบัด

โรคหลอดเลือดสมอง มักพบว่ามีปัญหาในการยืน และเดิน ในระยะแรก ๆ ทำให้ได้รับการฟื้นฟูในท่านอนหรือท่านั่งเป็นหลัก ไม่สามารถทำในท่ายืนได้ การใช้เตียงจะช่วยให้สามารถฝึกในท่ายืนได้เร็วขึ้นอย่างปลอดภัย ซึ่งมีส่วนช่วยให้การเพิ่มความแข็งแรงของขาได้เร็วขึ้น การใช้เตียงช่วยยืนจะสามารถช่วยได้ดังนี้

-การยืนทรงตัว

– การฝึกลงน้ำหนัก

– การเพิ่มความแข็งแรงเนื้อขา

– ลดการเกร็ง กระตุกของขาข้างอ่อนแรง

– การยืดกล้ามเนื้อน่อง และเท้า

– กระตุ้นการรับรู้ข้อต่อ


บรรยากาศคลิปวิดิโอกิจกรรมต่างๆของทางศูนย์

เป่าสีด้วยหลอด พัฒนากล้ามเนื้อมือ


พัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ ,พัฒนาภาษาในการอธิบายผลงานของตนเอง,พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ

ผ่อนคลายอารมณ์เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินขณะทำกิจกรรมและพึงพอใจในผลงานของตนเองผลงานของทุกท่านสวยไม่แพ้กันเลยจริงๆคะ


สรงน้ำพระ วันสงกรานต์ 2566

สรงน้ำพระ วันสงกรานต์ 2566 ประเพณีที่สืบต่อกันมาแบบตามวิถีโบราณ ทุกครอบครัวมักรวมตัวกัน ในวันหยุดยาว สงกรานต์ของทุกปี จะถือเป็นวันปีใหม่ไทย และหลายครอบครัวจะอยู่พร้อมหน้าร่วมกัน สรงน้ำพระ ทำความสะอาดหิ้ง รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่เพื่อขอพร ต้อนรับเทศกาลในวันสงกรานต์นั่นเอง

ประเพณีรดน้ำดำหัว เป็นพิธีต่อเนื่องจากวันสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทย เป็นประเพณีที่แสดงถึงความเคารพนบน้อมต่อบิดามารดา ผู้ใหญ่ หรือผู้มีพระคุณ เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที ของผู้น้อยและขอขมาลาโทษที่ผู้น้อยอาจเคยล่วงเกินผู้ใหญ่ อีกทั้งเป็นการขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล แก่ตนเองตลอดไปตั้งแต่วันแรกของการเริ่มประเพณีสงกรานต์ จนถึงวันสุดท้ายของสงกรานต์

คำว่า รดน้ำดำหัว เป็นคำพูดของชาวเหนือที่จะไปรดน้ำขอขมา (ขอโทษ) ผู้ใหญ่และขอพรจากผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือ ซึ่งจะมีการอาบน้ำจริง ๆ คืออาบทั้งตัวและดำหัวคือสระผมด้วยสิ่งที่ใช้สระผมก็จะเป็นน้ำส้มป่อยหรือน้ำมะกรูด

การดำหัว ในความหมายทั่วไปของชาวล้านนาไทยนั้นหมายถึงการ “สระผม” แต่ในพิธีกรรม โดยเฉพาะในเทศกาลสงกรานต์ของทุก ๆ ปี หมายถึง การชำระสะสาง สิ่งอันเป็นอัปมงคลในชีวิตให้วิปลาสปราดไป ด้วยการใช้น้ำส้มป่อยเป็นเครื่องชำระจึงใช้คำว่า ดำหัว มาต่อท้ายคำว่า รดน้ำ ซึ่งมีความหมายคล้ายกันกลายเป็นคำซ้อน คำว่า “รดน้ำดำหัว” ประเพณีรดน้ำดำหัวถือว่าเป็นประเพณีที่ดีงามอีกประเพณีหนึ่ง ที่ประชาชนชาวไทยถือปฏิบัติเวลาที่ยาวนาน ซึ่งการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ หรือญาติผู้ใหญ่ บุคคลผู้ที่ตนให้ความเคารพนับถือ การรดน้ำดำหัวนั้นจะเป็นการขอโทษขออภัย ซึ่งกันและกัน ที่เคยล่วงเกินกันในปีที่ผ่านมา